Dolomity in October 2017

รายละเอียดการถ่ายภาพ: Nikon D850 + Nikon 14-24 mm. @ 14 mm. ตั้งค่า f/8.0, 1/250 วินาที, iso 64

แนวคิด/เทคนิค:

แม้กล้องจะเก็บ Dynamic range ได้ค่อนข้างกว้าง แต่ด้วยสภาพแสงที่ต่างกันมากเมื่อถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้น หรือพระอาทิตย์ตก ในมุมที่หันเข้าหาแสงตรงๆ ทำให้ภาพที่ออกมามี Contrast ของแสงสูง อาจทำให้ภาพมืดเกินไปถ้าเราจะเก็บแสงท้องฟ้าไว้ หรือทำให้ภาพสว่างเกินไปเมื่อต้องการเก็บแสงพื้นดินให้เพียงพอ

ดังนั้น ทักษะสำคัญของการถ่ายภาพ Landscape อีกประการหนึ่ง คือ การถ่ายภาพคร่อมแสง เพื่อนำแสงมารวมกันในภาพหลัง หรือไม่ก็ การเลือกใช้ฟิลเตอร์ครึ่งซีกเพื่อเก็บแสงให้ครบตั้งแต่หลังกล้อง สองทักษะนี้มีความสำคัญเท่าๆ กันและเหมาะกับสถานการณ์คนละแบบ การถ่ายภาพคร่อมแสงทำให้เราไม่ต้องแบกชุดฟิลเตอร์ไปเดินเขา แต่อาจเสียเวลาสักหน่อยตอนรวมภาพในภายหลัง อีกทั้งเมื่อเจอสภาพอากาศที่มีลมแรง การรวมภาพอาจทำได้ไม่ดีนักเพราะอาจมีต้นไม้ หรือวัตถุในภาพเคลื่อนไหว ทำให้การรวมภาพทำได้ยาก

ส่วนการใช้ฟิลเตอร์ครึ่งซีก ต้องยอมรับว่าชุดฟิลเตอร์ดีๆ อย่าง Nisi Filter นั้น ทำจาก Pro Glass คุณภาพสูง แต่ก็แอบหนักเมื่อขนไปหลายแผ่น แต่ข้อดีคือ สามารถจบภาพได้เกือบจะหลังกล้อง เก็บแสงมาได้ครบอย่างที่ต้องการ อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะการถ่ายภาพแบบดั้งเดิมที่นำไปใช้กับการถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์มได้ดี … ในภาพใบนี้ ผมใช้ฟิลเตอร์ Hard GND8 ที่ช่วยลดแสงได้ 3 stops แม้ส่วนที่สว่างที่สุดของภาพ คือ จุดที่พระอาทิตย์ขึ้น จะเก็บแสงได้ไม่ครบ แต่ภาพรวมเนื้อไฟล์ดีมาก ผมจึงเก็บแสงอีก 1 ใบเพื่อมาคืนรายละเอียดให้กับภาพใบนี้ในภายหลัง (ถ่ายคร่อมแสงอีก -3 stops) … ภาพใบนี้เป็นภาพใบที่ชอบที่สุดในทริป Dolomite ที่ผ่านมาครับ

Previous
Previous

Breathtaking beauty of dolomite

Next
Next

his peaceful morning @ routeburn